🔴 ข้อแนะนำ เมื่อมีคำบังคับ และหรือ หมายบังคับคดีจากสำนักงานบังคับคดี 🔴
💥เรื่องที่ห้า หลังศาลพิพากษา ลูกหนี้มีสิทธิและหน้าที่อะไรบ้าง?
👉ลูกหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา และหรือ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ว่าลูกหนี้จะร่วมฟังคำพิพากษาด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยลูกหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล ภายในเวลา 1 เดือนนับแต่วันพิพากษา
👉หากลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ ต้องติดต่อเจ้าหนี้เพื่อเจรจาปรับเงื่อนไขการชำระเงิน พร้อมทั้งขอให้เจ้าหนี้ชะลอการบังคับคดี อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะตกลงหรือปฏิเสธก็ได้
👉หากลูกหนี้ชำระไม่ได้ เจ้าหนี้จะตามสืบว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้างและอยู่ที่ไหน ทำงานอยู่ที่ไหน หากเจอก็จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และศาลจะแจ้งไปยังกรมบังคับคดีให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์ และ/หรือ อายัดเงินเดือน
(1) ยึดทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน เมื่อทรัพย์ถูกยึดแล้ว ก็จะถูกนำออกขายทอดตลาดได้ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้
(2) อายัดเงินเดือนและรายได้อื่นๆ แต่จะไม่อายัดทั้งหมด เช่น
- เงินเดือน อายัดไม่เกิน 30% ของอัตราเงินเดือนก่อนหักรายจ่าย และต้องมีเงินเหลือไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท
- เบี้ยเลี้ยงชีพ-ค่าล่วงเวลา-เบี้ยขยัน อายัดไม่เกิน 30% ของเงินที่ได้รับ
- เงินโบนัส อายัดไม่เกิน 50% ของเงินที่ได้รับ
- เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน อายัดได้แต่ให้เหลือขั้นต่ำ 300,000 บาท
👉ลูกหนี้มีสิทธิขอลดเงินเดือนและค่าจ้างที่อายัด ได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่อายัดไว้เดิม โดยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี และชี้แจงถึงความจำเป็นที่ต้องขอลด และจะขอลดเหลือเท่าไร และให้แนบสลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน เอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย จึงได้รับการพิจารณาตามที่เห็นสมควร
👉สิ่งที่พึงระวังคือ กรณีที่ลูกหนี้พยายามผ่องถ่ายทรัพย์ไปให้ผู้อื่น หรือซ่อนทรัพย์จะมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ตาม ม. 350 ประมวลกฎหมายอาญา)
👉สรุป สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ในกระบวนการยุติธรรม เป็นเรื่องสำคัญที่อยากให้ลูกหนี้เอาใจใส่ เพื่อเข้าใจหลักคิดในกระบวนการยุติธรรม พร้อมกับดูแลและปกป้องตัวเองได้ถูกต้อง