คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ

คู่สมรสเป็นทายาทโดยธรรมของคู่สมรสที่เสียชีวิต ส่วนแบ่งมรดกเป็นไปตามกฎหมาย ถ้าการสมรสเป็นโมฆะมีผลกับมรดกของคู่สมรสที่ตายอย่างไร? มีสิทธิรับมรดกหรือไม? บุตรที่เกิดมามีสิทธิรับมรดกของบิดาที่ตายหรือไม่?
คู่สมรส เป็นปัญหาสำคัญในกฎหมายลักษณะมรดก เพราะคู่สมรสฝ่ายที่มีชีวิตอยู่ก็เป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคท้าย การคิดส่วนแบ่งระหว่าคู่สมรสต้องเป็นไปตามมาตรา 1625 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องเป็นไปตาม มาตรา 1635 กรณีเช่นใด การสมรสจึงเป็นโมฆะ และผลของการสมรสที่เป็นโมฆะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรบ้าง และก่อให้เกิดสิทธิรับมาดกในฐานะทายาทโดยธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไร เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงโดยเฉพาะเมื่อพิพากษาให้เพิกถอน เพราะการสมรสตกเป็นโมฆียะ การสมรสจะตกเป็นโมฆียะเพราะเหตุใด การบังคับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆียะนั้น จะมีผลอย่างไรและเมื่อใด นอกจากนั้นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629(1) ซึ่งเกิดจากบิดาและมารดาสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรดังกล่าวจะมีสิทธิรับมรดกของบิดาเจ้ามรดกได้ต้องอาศัยบทบัญญัติมาตราใดมาบังคับ ซึ่งก็ได้แก่มาตรา 1536 ถึงมาตรา 1560 หากบุตรซึ่งเกิดขึ้นจากบิดาเจ้ามรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจะรับมรดกได้อย่างใดนั้น ก็ต้องนำมาตรา 1547 หรือมาตรา 1627 มาปรับเพื่อพิจารณาในการแบ่งมรดกต่อไป จึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาและสนใจเป็นพิเศษ สาระสำคัญในส่วนนี้มีดังนี้
มาตรา 1629, 1625, 1635, 1547, 1627
มาตรา 1629 "ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635"

มาตรา 1625 "ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้ว การคิดส่วนแบ่งและการปันทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นนั้นให้เป็นไปดั่งนี้
(1) ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย็สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการหย่าโดยยินยอมทั้งสองฝ่าย อันมีบทบัญญัติเพิ่มเติมให้บริบูรณ์ในมาตรา 1637 และ 1638 และโดยเฉพาะ ต้องอยูในบังคับแห่งมาตารา 1513 ถึง 1517 แห่งประมวลกฎหมายนี้ แต่การคิดส่วนแบ่งนั้นมีผลตั้งแต่วันที่การสมรสได้สิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น
(2) ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งบรรพนี้ นอกจากมาตารา 1637 และ 1638"

มาตรา 1635 "ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629(1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629(3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาท ตามมาตรา 1629(1) แต่มีมีทายาทตาม 1629(2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629(4) หรือ (6) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตามมาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด"

มาตรา 1547 "บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก"
มาตรา 1627 "บุตรนอกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลลกฎหมายนี้"

คู่สมรส แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
(1) กฎหมายลักษณะผัวเมีย คือ เป็นสามีภริยาก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 เป็นคู่สมรสกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรส

ข้อสังเกต
ก. ชายมีภริยาได้หลายคน แม้เมื่อมีกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแล้ว ภริยาเหล่านั้นก็ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย และจะสัมพันธ์กับมาตรา 1636 คือ
ข. การจัดการทรพัย์สินต้องใช้กฎหมายปัจจุบัน
ค. การตัดสัมพันธ์ในครอบครว เช่น การฟ้องหย่า ต้องใช้มาตรา 1516 ในปัจจุบันบังคับ

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 991/2501

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาจำเลยก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เกิดบุตร 6 คนโจทก์มีสินเดิมเงินสด 30 บาท จำเลยไม่มีอะไรเกิดสินสมรสคือที่บ้าน 1 แปลง เรือนพร้อมครัว 1 หลัง ยุ้ง 1 หลังราคาประมาณ 30,000 บาท และจักรยาน 1 คันราคา 400 บาท เกวียนพร้อมโค 1 คู่ราคา 2,800 บาท เงินสดฝากคนอื่นไว้ 20,000 บาทเมื่อ 8 ปีมานี้จำเลยบังอาจหมิ่นประมาทด่าบิดามารดาโจทก์ ทำร้ายโจทก์ ขับไล่โจทก์และบุตรออกจากบ้านไปอาศัยคนอื่นอยู่ แรก ๆ จำเลยยังส่งเสียให้การศึกษาบุตร ต่อมาเพิกเฉย และมีภรรยาใหม่ โจทก์จึงฟ้องขอหย่า แบ่งสินสมรสและให้โจทก์เป็นผู้ปกครองบุตร ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

จำเลยให้การว่า โจทก์หนีไปอยู่ที่อื่น จึงถือว่าโจทก์หย่าขาดจากจำเลยโจทก์จำเลยมีบุตรด้วยกันเพียง 5 คน โจทก์ไม่มีสินเดิมส่วนจำเลยมีสินเดิม ซึ่งที่บ้านเป็นสินเดิมด้วย ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันจำเลยปลูกเรือน 1 หลัง แต่ขายแล้ว ส่วนทรัพย์สินอื่นตามที่โจทก์อ้างไม่มี ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรมากเกินสมควร

นางยอดเรือนร้องสอดเป็นจำเลยร่วมอ้างว่าเรือนพร้อมครัว 1 หลังยุ้ง 1 หลังเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอด โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดกัน ที่บ้าน 1 แปลงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย ให้แบ่ง 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วน จำเลยได้ 2 ส่วน เรือนและยุ้งจำเลยกับนางยอดเรือนถือกรรมสิทธิ์คนละครึ่งส่วนของจำเลยเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย ให้แบ่ง 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วน จำเลยได้ 2 ส่วน การแบ่งไม่ตกลงให้ประมูลหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตร หากไม่ประสงค์เช่นนี้ให้โจทก์ปกครองและให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละ 150 บาทจนกว่าบุตรบรรลุนิติภาวะ

จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยทะเลาะวิวาทกันโจทก์แยกไปอยู่ที่อื่น ขณะนั้นเป็นเวลาที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับแล้วเหตุที่จะขาดจากสามีภรรยาจึงต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เมื่อโจทก์ร้างไปแล้ว จำเลยขายที่ดินสินสมรสแล้วนำเงินไปซื้อที่ดินพิพาทแทนมาที่ดินพิพาทก็ต้องเป็นสินสมรส ส่วนเรือนและยุ้ง จำเลยและนางยอดเรือนช่วยกันปลูก จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาระหว่างโจทก์จำเลยร้างกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งเป็นสินสมรส และเรื่องค่าขึ้นศาลจำเลยจะพึงชำระต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี พิพากษาแก้ไม่ให้แบ่งส่วนสินสมรสจากเรือนและยุ้งให้โจทก์ และคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่จำเลยเสียเกินมา
( นิติธรรมประกรณ์ - ประวัติ ปัตตพงศ์ - จักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ )

ง. สามีสละภริยาไปบวชเป็นพระภิกษุสามเณร หรือภริยาสละสามีไปบวชชี ถือว่าขาดจากการสมรส

กฎหมายลักษณะผัวเมีย อนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เมียกลางเมือง หมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือว่าเป็นภริยาหลวง ส่วนอีก 2 ประเภท คือ เมียกลางนอก หรืออนุภริยา และเมียกลางทาสี หรือสาสภริยา การที่ฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539

ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกันทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น3ประเภทด้วยกันได้แก่เมียกลางเมืองเมียกลางนอกหรืออนุภรรยาและเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยาสำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึงหญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวงส่วนภริยาอีก2ประเภทก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยาแต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตามต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้นดังนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าบิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตายก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี2464ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมมีผลบังคับใช้และมีบุตรด้วยกันถึง6คนและตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา5บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรสฯลฯที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใดผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมาส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี2491ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน4คนแต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วการที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1452และมาตรา1496ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
________________________________

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้นางจรัสลักษณ์ กรรณเลขาเป็นผู้ฟ้องคดีแทน โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของพลตำรวจจัตวามงคล จึระเศรษฐ โดยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2462 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2533 พลตำรวจจุตวามงคลถึงแก่ความตาย ต่อมาโจทก์ทราบว่าพลตำรวจจุตวามงคลได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลย เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2528 ในขณะที่พลตำรวจจัตวามงคลมีโจทก์เป็นคู่สมรสอยู่ตามสำเนาทะเบียนการสมรสท้ายฟ้องหมายเลข 4 การจดทะเบียนสมรสดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1495 ขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างพลตำรวจจัตวามงคลกับจำเลยเป็นโมฆะและให้เจ้าพนักงานสำนักงานทะเบียนห้วยขวางจดทะเบียนเพิกถอนการสมรสดังกล่าว

จำเลยให้การว่า โจทก์มิใช่ภริยาตามกฎหมายของพลตำรวจจัตวามงคลจีระเศรษฐ เพราะตามกฎหมายลักษณะผัวเมียนั้นระบุในหมวด ก. ว่าอันลักษณะเมียนั้นมีสามประการ ประการหนึ่ง หญิงอันบิดามารดากุมมือให้เป็นเมียชาย ได้ชื่อว่าเป็นเมียกลางเมือง ประการหนึ่งชายขอหญิงมาเลี้ยงเป็นอนุภรรยาหลั่นเมียหลวง ได้ชื่อว่าเป็นเมียกลางนอกประการหนึ่ง หญิงใดทุกข์ยากชายช่วยไถ่ถอนได้มาเห็นหมดหน้าเสี่ยงเป็นเมีย ได้ชื่อว่าเมียกลางทาษี โจทก์เป็นเพียงคนรับใช้ในบ้านของพลตำรวจจัตวามงคล ไม่มีบิดามารดาไม่ได้รับการศึกษา ถึงแม้จะได้กับพลตำรวจจัตวามงคลก็ไม่ได้รับการยกย่องแต่อย่างใด จึงไม่เข้าลักษณะเมียตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย พระราชบัญญัติเลิกร้างกับโจทก์มาเป็นเวลานานแล้ว จำเลยกับพลตำรวจจัตวามงคลอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยตั้งแต่ปี 2493 และจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเมื่อวันที่ 29ตุลาคม 2528 หนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นเอกสารเท็จ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง และฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การสมรสระหว่างพลตำรวจจัตวามงคลจีระเศรษฐกับจำเลยเป็นโมฆะ คำขออื่นให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน

จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าพลตำรวจจัตวามงคล จีระเศรษฐ ผู้ตาย ได้โจทก์เป็นภริยาตั้งแต่ปี 2462 และมีบุตรด้วยกัน 6 คน ต่อมา ปี 2491 ผู้ตายได้จำเลยเป็นภริยาอีกคนหนึ่งและมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม 2528 ผู้ตายจึงได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลย วันที่ 12 มิถุนายน 2533 ผู้ตายได้ถึงแก่ความตาย ต่อมาทั้งโจทก์และจำเลยได้ไปยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้ตาย ทางกรมบัญชีกลางจึงให้ทั้งโจทก์และจำเลยไปดำเนินคดีทางศาลว่าผู้ใดเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยมีว่า ขณะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับพลตำรวจจัตวามงคล จีระเศรษฐ ผู้ตายนั้น โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายอยู่หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาประการแรกว่า การสมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับ จะชอบด้วยกฎหมายนั้นต้องให้บิดามารดาทั้งสองฝ่ายรับทราบโดยกุมมือยกฝ่ายหญิงให้แก่ฝ่ายชาย แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีการกระทำดังกล่าวระหว่างผู้ตายกับโจทก์จึงถือว่าผู้ตายและโจทก์ไม่ได้เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียนั้น เห็นว่า ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยได้ ได้แก่ เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยาและเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวง ส่วนภริยาอีก 2 ประเภทก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยา หรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูชูเชิดหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตามต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้นดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายด้วยเหตุดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ที่จำเลยฎีกาประการต่อมาว่า ผู้ตายได้ทิ้งร้างโจทก์มาอยู่กับจำเลยเป็นเวลา 40 ปีเศษแล้ว จึงทำให้การเป็นสามีภริยาระหว่างผู้ตายกับโจทก์ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับสิ้นสุดลง โดยไม่ต้องจดทะเบียนการหย่าอีก ผู้ตายกับโจทก์จึงมิได้เป็นสามีภริยากันในขณะที่ผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้น เห็นว่า ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิมมีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน ซึ่งคนที่ 1และที่ 2 ถึงแก่ความตายแล้ว คนที่ 3 อายุ 63 ปี คนที่ 4 อายุ 59 ปีคนที่ 5 อายุ 54 ปี และคนที่ 6 อายุ 50 ปี และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่าบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ที่ผู้ตายทำขึ้นเพื่อยกที่ดินให้แก่บุตรเมื่อปี 2495 มีข้อความระบุว่า โจทก์เป็นภริยาผู้ตายตามหนังสือให้ความยินยอมเอกสารหมาย จ.5 ที่ผู้ตายทำขึ้นเมื่อปี 2506 เพื่อให้โจทก์ทำนิติกรรมจำนองกับบุคคลอื่นก็ระบุว่าโจทก์เป็นภริยาและหนังสืออนุสรณ์ในงานณาปนกิจศพของนางชุ่มโพธิประดิษฐ ซึ่งเป็นพี่ของผู้ตายเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2513ได้มีการลำดับญาติในตระกูลเดียวกันระบุว่าโจทก์เป็นภริยาผู้ตายนอกจากนี้ตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย จ.7 ซึ่งผู้ตายมีชื่อเป็นหัวหน้าครอบครัว ก็มีชื่อโจทก์อยู่ในลำดับ 2 โดยมีฐานะเป็นภริยาหัวหน้าครอบครัว ทั้งปรากฏตามภาพถ่ายเอกสารหมาย จ.8ถึง จ.12 ประกอบคำเบิกความของนายสมควร จีระเศรษฐ บุตรโจทก์กับผู้ตายว่า เป็นภาพถ่ายของโจทก์กับผู้ตายนั่งคู่กันให้บุตรหลานรดน้ำเนื่องในวันเกิดของผู้ตาย โดยถ่ายหลังจากปี 2528 แสดงว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และ มาตรา 1496ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
พิพากษายืน
( อธิราช มณีภาค - มงคล สระฏัน - วุฒิ คราวุฒิ )

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 "ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้"
มาตรา 1496 "คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตารา 1450 และมาตารา 1458 เป็นโมฆะ
คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสอาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้"

มาตรา 1495 "การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ"
2. สามีภริยาตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เก่า คือสามีภริยาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478 ถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2519

ข้อสังเกต มีดังนี้
ก. ยกเลิกกฎหมายลักษณะผัวเมียทั้งหมด
ข. อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 มาตรา 4 บัญญัติว่า เมื่อใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้ว ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เช่น การรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า ไม่ต้องมีการจดทะเบียน เมื่อใช้บรรพ 5 แล้ว ก็ต้องถือว่า เป็นบุตรบุญธรรมที่สมบูรณ์ ไม่ต้องจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมกันใหม่อีก อย่างไรก็ดีหากเป็นเรื่อง การตัดสัมพันธ์ในครอบครัว แล้ว จะต้องใช้บทบังคับตามบทบัญญัติแห่งบรรพ 5 เช่น เหตุหย่า ต้องใช้มาตารา 1516

3. ป.พ.พ. ยรรพ 5 ใหม่ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 26 กันยายน 2533

ข้อสังเกต มีดังนี้
ก. มีบทบัญญัติเพิ่ม ป.พ.พ. บรรพ 5 วรรคเดิม รวม 41 มาตรา
ข. บัญญัติให้สามีภริยามีอำนาจจัดการทรัพย์สินในระหว่างสามีภริยาเท่าเทียมกัน
ค. ไม่มีผู้ใดเป็นหัวหน้าในครอบครัว สามีภริยาต้องปรึกษาหารือกันในเรื่องที่อยู่อาศัย
ง. บิดาและมารดามีอำนาจปกครองบุตรเท่าเทียมกัน
จ. ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเดิม มีสินส่วนตัว สินเดิม สินสมรส เมื่อแก้แล้วคงมีทรัพย์สิน 2 ชนิด คือ สินส่วนตัว และสินสมรส

4. ป.พ.พ. บรรพ 5 ซึ่งแก้ไขหหม่ ปี 2533 ใช้บังคัยตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2533 มีการแก้ไขเพื่มเติมรวม 77 มาตรา
ข้อสังเกต มีดังนี้
ก. การหมั้นจะต้องมีของหมั้น ถ้าไม่มีของหมั้น การหมั้นนั้นไม่สมบูรณ์ และของหมั้นจะตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นในทันทีทีหมั้นกัน

มาตรา 1437 "การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง
สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ให้นำบทบัญญัติมาตรา 412 ถึงมาตารา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม"

ข. ถ้าคู่หมั้นไม่ว่าชายหรือหญิงตายก่อนสมรส หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดแก่ฝ่ายชาย

มาตรา 1441 "ถ้าคู่หมั้นฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องค่าทดแทนมิได้ ส่วนของหมั้นหรือสินสอดนั้นไม่ว่าชายหรือหญิงตาย หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคึนให้แก่ฝ่ายชาย"

ค. การสมรสซ้อนตกเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิกล่าวอ้างขึ้นได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องให้ศาลมีคำพิพากษา แม้คู่สมรสจะทำการสมรสซ้อนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 1497 "การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้"
มาตรา 1499 วรรคสอง "การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือหญิงนั้นรู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ แต่การสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าว ไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง"

ง. ลดอายุผู้รับบุตรบุญธรรมลงเหลือเพียง 25 ปี
มาตรา 1598/19 "บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีจะรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมก็ได้ แต่ผู้นั้นต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี"
ความเป็นโมฆะของการสมรส
มาตรา 1494 "การสมรสจะเป็นโมฆะก็แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ในหมวดนนี้"
มาตรา 1495 "การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ"
มาตรา 1496 "คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตารา 1450 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ
คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสอาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้"
มาตรา 1497 "การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้"
มาตรา 1497/1 "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการสมรสใดเป็นโมฆะให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเยียนเพื่อบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียนสมรส"
มาตรา 1498 "การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นนของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น เมื่อได้พิเคราะห์ถึงภาระในครอบครัวภาระในการหาเลี้ยงชีพฐานะของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ตลอดจนพฤติการณ์อื่นทั้งปวงแล้ว"
มาตรา 1499 "การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืน มาตารา 1449 มาตารา 1450 หรือมาตรา 1458 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะ
การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุตริตเสื่อมสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือหญิงนั้นรู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ แต่การสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าว ไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

การนมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตารา 1449 ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดได้สมรสโดยสุจริต ฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ และถ้าการสมรสที่เป็นโมฆะนั้นทำให้ฝ่ายที่ได้สมรสโดยสุจริตต้องยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือก่อนที่จะได้รู้ว่าการสมรสของตนเป็นโมฆะแล้วแต่กรณีฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ด้วย สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพในกรณีนี้ในนำมาตรา 1526 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1528 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน หรือค่าเลี้ยงชีพตามวรรคสาม มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดสำหรับกรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือมาตารา 1458 หรือนับแต่วันที่รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ สำหรับกรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452"

มาตารา 1499/1 "ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ข้อตกลงระหว่างคู่สมรสว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด หรือฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด ให้ทำเป็นหนังสือ หากตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ในการพิจารณาชี้ขาด ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ตามมาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสและสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ และให้นำความใน มตรา 1521 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"

มาตรา 1500 "การสมรสที่เป็นโมฆะไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตซึ่งได้มาก่อนมีการบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียนสมรสตามมาตรา 1497/1"
ข้อสังเกต
(1) มาตรา 1494 วางหลักว่า การสมรสจะเป็นโมฆะก็แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. เท่านั้น
(2) เมื่อการสมรสตกเป็นโมฆะแล้วก็ไม่อาจสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ได้
(3) เหตุแห่งการสมรสที่จะเป็นโมฆะได้นั้น ตามมาตรา 1495 คือการสมรสที่ฝ่าฝืน มรตรา 1449, 1450, 1452 และ มาตรา 1458 แสดงว่ามีอยู่ 4 กรณี เทานั้น คือ
มาตรา 1449 "ชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ"
มาตรา 1450 "ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี โดยความเป็นญาติดังกล่าวให้ถือตามสายโลหิต โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่"
มาตรา 1452 "ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้"
มาตรา 1458 "การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย"

ติดตั้ง แอพพลิเคชั่น บนมือถือ

🌈👉ติดตั้ง แอปพลิเคชัน👈🌈

💖⚖️“ (ทนายความประชาชน) ”⚖️💖

https://play.google.com/store/apps/

X
ติดตั้ง แอพพลิเคชั่น บนมือถือ