ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4180/2539
ป.อ. มาตรา 68, 80, 371
ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรค สอง, 218 วรรค แรก, 225
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72 วรรค แรก, 72 ทวิ
ขณะผู้เสียหายทั้งแปดยืนรอขึ้นรถโดยสารประจำทาง อ. กับจำเลยที่1และที่2มาพบผู้เสียหายที่1 อ. ซึ่งรู้จักกับผู้เสียหายที่1ได้เข้าถามหาเพื่อนคนหนึ่งแล้วไม่พอใจคำตอบของผู้เสียหายที่1จึงเกิดการโต้เถียงและเข้าต่อยใบหน้าของผู้เสียหายที่1แต่ไม่ถูกขณะนั้นจำเลยที่1ก็ยืนอยู่พวกของผู้เสียหายคนหนึ่งถือมีดดาบยาวประมาณครึ่งเมตรชูขึ้นเหนือศีรษะวิ่งตรงเข้าจะช่วยผู้เสียหายที่1จำเลยที่1และที่2จึงชักอาวุธปืนลูกซองสั้นและยิงลงไปที่พื้นดินคนละนัดก็เพื่อยับยั้งไม่ให้เพื่อนของผู้เสียหายที่1ใช้มีดฟัน อ. หรือจำเลยทั้งสองเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแม้กระสุนปืนที่จำเลยที่1ยิงไปจะกระทบพื้นดินและแผ่กระจายถูกผู้เสียหายทั้งแปดจนได้รับอันตรายแก่กายจำเลยที่1ก็ไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าหรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น จำเลยที่1ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรกแม้จำเลยที่1จะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยที่1หนักเกินไปย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยที่1ให้เหมาะสมแก่ความผิดได้โดยให้รอการลงโทษแต่ให้ลงโทษปรับและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติด้วย กรณีที่ศาลล่างปรับบทมาตราผิดศาลสูงย่อมมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดหยิบยกขึ้นว่ากล่าวก็ตาม
___________________________
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 371, 80,83 พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ , 72, 72 ทวิและ ริบของกลาง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น จำเลย ที่ 2 ถึงแก่ความตายศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ จำหน่ายคดี เฉพาะ จำเลย ที่ 2 จาก สารบบความ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80, 371 พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7,8 ทวิ วรรคสอง , 72 วรรคแรก , 72 ทวิ วรรคสอง การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1เป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกัน จึง ลงโทษ ทุกกรรม เป็น กระทง ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิด ฐาน พยายามฆ่าผู้อื่น โดย เจตนาวางโทษ จำคุก 10 ปี ความผิด ฐาน มี อาวุธปืน ไว้ ใน ครอบครอง โดยไม่รับ อนุญาต วางโทษ จำคุก 3 ปี ความผิด ฐาน พา อาวุธปืน ติดตัวไป ใน เมือง หมู่บ้าน และ ทางสาธารณะ โดย ไม่รับ อนุญาต เป็น ความผิดกรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯซึ่ง เป็น กฎหมาย บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90วางโทษ จำคุก 1 ปี รวม วางโทษ จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 14 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ใน ชั้น จับกุม ชั้นสอบสวน และ ใน ชั้นพิจารณาของ ศาล เกี่ยวกับ ความผิด ต่อ พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯ มี ประโยชน์ ต่อ การพิจารณา อยู่ บ้าง เป็นเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 10 ปี 6 เดือนคำขอ ของ โจทก์ นอกจาก นี้ ให้ยก ริบของกลาง
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง ใน ข้อหา ความผิด ฐานพยายามฆ่า ลงโทษ ฐาน มี อาวุธปืน ไว้ ใน ครอบครอง โดย ไม่ได้ รับ อนุญาตจำคุก 2 ปี รวมกับ โทษ ฐาน พา อาวุธปืน ติดตัว ไป ใน เมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะ โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต เป็น จำคุก 3 ปี จำเลย ที่ 1 ให้การรับสารภาพ ใน ชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณาเป็นเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คง จำคุก 2 ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาล วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ว่าจำเลย ที่ 1 มี ความผิด ฐาน ร่วมกัน พยายามฆ่า หรือ มิฉะนั้น ก็ มี ความผิดฐาน ร่วมกัน ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหาย ทั้ง แปด เพราะ ย่อม เล็งเห็นผล ว่าการ ใช้ อาวุธปืน เช่นนั้น กระสุนปืน ลูก ปลาย จะ แผ่กระจาย ทำให้ ผู้เสียหายทั้ง แปด ถึงแก่ความตาย หรือ ได้รับ อันตรายแก่กาย ได้ โดย จำเลย ที่ 1ไม่อาจ อ้าง เหตุ ป้องกันตัว ได้ ข้อ นี้ จำเลย ที่ 1 นำสืบ และ ยื่น คำแก้ ฎีกา อยู่ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เข้าร่วม ชกต่อย หรือ ทะเลาะวิวาทกับ ผู้เสียหาย ที่ 1 ที่ ใช้ อาวุธปืน ยิง เพราะ กลัว จะ ถูก ทำร้าย เห็นว่าพยานโจทก์ ใน เรื่อง นี้ เบิกความ แตกต่าง กัน ไป โดย ผู้เสียหาย ที่ 1และ นาย วิสูตร สุวัฒน์ ผู้เสียหาย ที่ 5 เบิกความ ว่า เมื่อ นาย อนิรุต เข้า มา ถาม หา เพื่อน และ เกิด โต้เถียง กัน ต่อมา จำเลย ที่ 1เข้า มา ต่อย ที่ ใบหน้า ผู้เสียหาย ที่ 1 ส่วนนาย ดำรงค์เกียรติ สิทธิกัน ผู้เสียหาย ที่ 3 เบิกความ ว่า ผู้เสียหาย ที่ 1 จะ พูด กับ ผู้ใดไม่ได้ สังเกต ต่อมา เห็น ผู้เสียหาย ที่ 1 ต่อย กับ จำเลย ที่ 1 แต่นาย บุญนำ นาควิจิตร ผู้เสียหาย ที่ 4 เบิกความ ว่า นาย อนิรุต เข้า มา คุย กับ ผู้เสียหาย ที่ 1 และ เห็น นาย อนิรุต ต่อย ผู้เสียหาย ที่ 1นอกจาก นั้น คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย ที่ 1 ก็ ยัง แตกต่าง กับ คำเบิกความของ ผู้เสียหาย ที่ 5 อีก กล่าว คือ ผู้เสียหาย ที่ 1 เบิกความ ว่าเมื่อ จำเลย ที่ 1 เข้า มา ต่อย นั้น ผู้เสียหาย ที่ 1 ยก สมุด ขึ้น รับการ ต่อย จึง ไม่ ถูก แต่ ผู้เสียหาย ที่ 5 เบิกความ ว่า เมื่อ จำเลย ที่ 1เข้า มา ต่อย ผู้เสียหาย ที่ 1 นั้น ผู้เสียหาย ที่ 1 หลบ ทัน การ ต่อยจึง ไม่ ถูก ส่วน ผู้เสียหาย ที่ 4 ซึ่ง ขณะ นั้น ยืน อยู่ ใกล้ กับผู้เสียหาย ที่ 1 ก็ เบิกความ ว่า เห็น ผู้เสียหาย ที่ 1 ยก สมุด ขึ้น ปิดใบหน้า ขณะที่ นาย อนิรุต ต่อย ซึ่ง ต่าง กับ คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย ที่ 1 ที่ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ เข้า ต่อย ผู้เสียหาย ที่ 1 ไม่ใช่นาย อนิรุต คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย ที่ 1 จึง แตกต่าง ไป จาก พยานโจทก์ ดังกล่าว แล้ว ประกอบ กับ คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย ที่ 4 พยานโจทก์เจือสม กับ คำเบิกความ ของ จำเลย ที่ 1 อีก ทั้ง นาย อนิรุต เป็น ผู้ เข้า ไป สอบถาม และ เกิด โต้เถียง กับ ผู้เสียหาย ที่ 1 และ นาย อนิรุต เป็น ผู้ ไม่พอ ใจ คำ ตอบ ของ ผู้เสียหาย ที่ 1 น่า ที่นาย อนิรุต จะ เป็น ผู้ เข้า ต่อย ผู้เสียหาย ที่ 1 เอง ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า เมื่อนาย อนิรุต ไม่พอ ใจ คำ ตอบ ของ ผู้เสียหาย ที่ 1 จึง เกิด โต้เถียง กัน และ เข้า ต่อย ใบหน้า ของ ผู้เสียหาย ที่ 1 แต่ ไม่ ถูก ซึ่ง ขณะ นั้นจำเลย ที่ 1 ก็ ยืน อยู่ โดย มิได้ เข้าร่วม วิวาท ด้วย ที่ จำเลย ที่ 1 และที่ 2 ใช้ อาวุธปืน ยิง ก็ เป็น การ ยิง ต่อเมื่อ เห็น เพื่อน ของ ผู้เสียหายที่ 1 ถือ มีดดาบ วิ่ง เข้า มา จะ ช่วย ผู้เสียหาย ที่ 1 ทั้ง จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ใช้ อาวุธปืน ยิง ลง ที่ พื้นดิน เพียง คน ละ นัด ก็ เพื่อ ยับยั้งไม่ให้ เพื่อน ของ ผู้เสียหาย ที่ 1 ใช้ มีด ฟัน นาย อนิรุต หรือ จำเลย ทั้ง สอง การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 จึง เป็น การ ป้องกัน ตนเอง หรือ ผู้อื่นให้ พ้น จาก การ ประทุษร้าย อัน ละเมิด ต่อ กฎหมาย และ เป็น ภยันตราย ที่ ใกล้จะ ถึง ทั้ง เป็น การกระทำ พอสมควร แก่ เหตุ จึง เป็น การ ป้องกัน โดยชอบด้วย กฎหมาย แม้ กระสุนปืน ที่ จำเลย ที่ 1 ยิง ไป จะ กระทบ พื้นดิน และแผ่กระจาย ถูก ผู้เสียหาย ทั้ง แปด จน ได้รับ อันตรายแก่กาย จำเลย ที่ 1ก็ ไม่มี ความผิด ไม่ว่า จะ เป็น ความผิด ฐาน พยายามฆ่า หรือ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฎีกา ของ โจทก์ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ขอให้ ลงโทษ ใน ความผิด ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ สถาน เบา และ รอการลงโทษ นั้น คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษจำคุก จำเลย ที่ 1 ใน ข้อหา ฐาน มี อาวุธปืน 2 ปี 3 เดือน ฐาน พา อาวุธปืน9 เดือน ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 1 ใน ข้อหา ฐาน มีอาวุธปืน 1 ปี 4 เดือน ฐาน พา อาวุธปืน 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ เพียงแต่แก้ไข เล็กน้อย และ คง ลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 1 ไม่เกิน 5 ปี จึง ห้ามมิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความอาญา ตาม มาตรา 218 วรรคแรก ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 เป็น ฎีกา โต้เถียงดุลพินิจ ใน การ ลงโทษ ของ ศาล ซึ่ง เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกา ตาม บทบัญญัติ มาตรา ดังกล่าว อย่างไร ก็ ดี แม้ จะ เป็น คดี ที่จำเลย ที่ 1 ฎีกา ได้ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย ก็ ตาม หาก ศาลฎีกา เห็นว่าศาลล่าง ลงโทษ จำเลย ที่ 1 หนัก เกิน ไป ก็ ย่อม จะ มีอำนาจ ที่ จะ พิพากษาลงโทษ จำเลย ที่ 1 ให้ เหมาะสม แก่ ความผิด ได้ ศาลฎีกา เห็นว่าจำเลย ที่ 1 ยัง เป็น นักศึกษา อยู่ แม้ จำเลย ที่ 1 จะ ใช้ อาวุธปืน ที่ มีและ พา ไป ยิง ก็ ตาม แต่ ก็ ใช้ อาวุธปืน ยิง เพื่อ ป้องกันตัว โดยชอบ ด้วยกฎหมาย และ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 1 เคย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน มีเหตุอัน สมควร รอการลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 1 แต่ เห็นสมควร ให้ ลงโทษ ปรับและ กำหนด เงื่อนไข เพื่อ คุม ความประพฤติ ของ จำเลย ที่ 1 ไว้ ด้วย
อนึ่ง ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง ,72 ทวิ วรรคสอง อันเป็นความผิด ฐาน พา อาวุธปืน ไป โดย เปิดเผย หรือ พา ไป ใน ชุมนุม ชน ที่ ได้ จัด ให้มี ขึ้น เพื่อ นมัสการ การ รื่นเริง การ มหรสพ หรือ การ อื่น ใด และศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ใน ส่วน นี้ นั้น เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1พา อาวุธปืน ติดตัว ไป ใน เมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดย ไม่ได้ รับ ใบอนุญาตให้ มี อาวุธปืน ติดตัว ไม่มี เหตุสมควร หรือไม่ มีเหตุ จำเป็น และ เร่งด่วนตาม สมควร แก่ พฤติการณ์ อันเป็น ความผิด ตาม มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง ,72 ทวิ วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว และ ข้อเท็จจริง ก็ ฟังได้ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำ ความผิด ตาม บท มาตรา ดังกล่าว จึง เป็น กรณีปรับ บท มาตรา ผิด ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข เสีย ให้ ถูกต้อง “
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่ง เทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง ,72 ทวิ วรรคสอง ให้ ปรับ ฐาน มี อาวุธปืนเป็น เงิน 8,000 บาท และ ฐาน พา อาวุธปืน เป็น เงิน 4,000 บาท อีกสถาน หนึ่ง รวมเป็น โทษ จำคุก 3 ปี และ ปรับ 12,000 บาท ลด ให้หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คง จำคุก 2 ปี และ ปรับ8,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 56 และ ให้ จำเลย ที่ 1 ไป รายงาน ตัว ต่อ พนักงานคุมประพฤติ3 เดือน ต่อ ครั้ง เพื่อ ให้ พนักงานคุมประพฤติ จัด ให้ กระทำ กิจกรรมบริการ สังคม หรือ สาธารณประโยชน์ ตาม ที่ พนักงานคุมประพฤติ และ จำเลยเห็นสมควร ตลอด ระยะเวลา ที่ รอการลงโทษ ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
(สละ เทศรำพรรณ-สุรินทร์ นาควิเชียร-ถวิล อินทรักษา)
แหล่งที่มา
สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
แผนก
หมายเลขคดีแดงศาลชั้นต้น
หมายเหตุ
หากมีข้อสงสัยประการใดติดต่อ ที่นี้เลย Tel/Line id : 089-2142456 (ทนายสอง ประธานชมรมปรึกษาคดีฟรี ทั่วประเทศ ทุกจังหวัด ทนายความ)
Line id : lawyer_2 ชมรมปรึกษาคดีฟรี ทั่วประเทศ ทุกจังหวัด ทนายความ)
ท่านสามารถเข้าเยี่ยมชมศึกษาข้อกฎหมาย คำพิพากษา ได้ที่ www.ปรึกษาคดีฟรี.com