ไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือ,ไม่มีใบอนุญาตขับขี่,โทษ

ไม่มีใบอนุญาตขับรถ หรือใบขับขี่,โทษ

โปรดระวังนะครับ......ขับรถโดยไม่มีใบขับขี่ หรือใบอนุญาตขับรถ พร้อมทั้งคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (และรถจักยานยนต์) ผู้ใดขับขี่รถยนต์ หรือรถจักยานต์ยนต์โดยยังไม่มีใบอนุญาติขับรถ หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่าใบขับขี่ มีโทษจำคุกด้วยครับ

มาดูพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522

มาตรา 42 ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถและต้องมีใบอนุญาตขับรถและสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถในขณะขับหรือควบคุมผู้ฝึกหัดขับรถเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที เว้นแต่ผู้ฝึกหัดขับรถยนต์ตามมาตรา 57

ในกรณีที่ผู้ขับรถเป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ผู้ขับรถซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นจะใช้ใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 42 ทวิ ขับรถในราชอาณาจักรก็ได้ และในกรณีนี้จะต้องมีใบอนุญาตขับรถดังกล่าวพร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้นๆ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที

จากมาตรา 42 ข้างต้นนั้นมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนไว้ในมาตรา 64

มาตรา 64 "ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ไม่สามารถยอมความกันได้ครับ

สำหรับผู้ที่มีใบขับขี่แต่เลิมไว้ที่บ้านหรือไม่อยากแสดงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูจะมีผลอย่างไรครับ ในเรื่องนี้ครับกฎหมายกำหนดโทษไว้ในมาตรา 66 คือ

มาตรา 66 "ผู้ใดขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ และสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท"

ในกรณีความผิดตามมาตรา 42 ดังกล่าวข้างต้นนี้ การปฏิบัติที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ตำรวจก็คือ จะต้องยึดรถส่งพนักงานสอบสวน แล้วผู้ขับขี่ต้องนำใบอนุญาตขับขี่หรือสำเนาคู่มือจดทะเบียนไปแสดงพร้อมเสียค่าปรับจึงจะรับรถคืนได้ แต่ที่ปฏิบัติกันอยู่จะออกใบสั่งแทนเพราะถ้ายึดรถมันจะยุ่งยาก และทำให้ผู้ขับรถเดือดร้อน ก็ไม่เคร่งครัดมาก นอกจากไปทำผิดแล้วหัวหมอ พูดจาไม่สุภาพ ถ้าใครเจอกรณีแบบนี้ แล้วถูกยึดรถ ถือว่าเจ้าหน้าที่ทำถูกแล้ว ว่าเขาไม่ได้เพราะเป็นความผิดของเราเอง หากใครหลงลืมใบขับขี่ก็พูดดีกับตำรวจจะได้ไม่เสียเวลาทำมาหากินครับ


สำหรับเจ้าของรถที่ให้ผู้อื่นยืมรถไปใช้โดยผู้ยืมรถนั้นไม่มีใบขับขี่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่อย่างไร

สำหรับเรื่องนี้กฎหมายบัญญัติไว้ใน มาตรา 56 ดังนี้

มาตรา 56 ภายใต้บังคับมาตรา 43 และมาตรา 57 ห้ามมิให้เจ้าของรถหรือคนขับรถยินยอมให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ หรือมีใบอนุญาตขับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้ เข้าขับรถของตนหรือรถที่ตนเป็นคนขับ

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 56 ก็มีความผิดตาม มาตรา 60 ครับ(ปรับไม่เกิน 2,000 บาท)

มาตรา 60 "ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 วรรคสองและวรรคสาม มาตรา 11 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง มาตรา 13 วรรคหนึ่ง มาตรา 14 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง มาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา 18 วรรคหนึ่ง มาตรา 20 วรรคหนึ่ง มาตรา 21 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง มาตรา 56 หรือมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท"

มือใหม่หัดขับ กฎหมายว่าอย่างไรบ้าง แล้วผู้สอนขับรถยนต์กฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์อย่างไรบ้าง


ในเรื่องนี้
ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ มาตรา 57 กำหนดไว้ว่า

มาตรา 57 ผู้ใดฝึกหัดขับรถยนต์ ต้องมีผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์มาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีควบคุมอยู่ด้วย

ในการฝึกหัดขับรถ ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้ฝึกหัดและผู้ควบคุมอยู่ในรถ ถ้ามีการเสียหายเกิดขึ้น ผู้ควบคุมต้องรับผิดทางแพ่ง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ฝึกหัดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสอนในเวลาที่ขับอยู่นั้น

ตามมาตรา 57 กำหนดให้มือใหม่ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถ ต้องมีผู้ฝึกสอนคอยดูแลควบคุมการฝึกหัดขับขี่ และยังได้เน้นว่าผู้สอนหรือผู้ฝึกหัดนั้นต้องได้รับใชอนุญาตขับรถยนต์มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือพูดง่าย ๆว่าต้องมีใบขับขี่อายุ 3 ปีขึ้นไปนั่นเองครับ

นอกจากนี้ในขณะฝึกหัดนั้นก็ห้ามไม่ให้ผู้อื่นนอกจากผู้หัดขับรถและผู้สอนอยู่ในรถด้วย ไม่เช่นนั้นผู้สอนต้องรับผิดชอบกรณีที่เกิดอุบัติเหตุไปชนคนและทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย เว้นแต่ผู้สอนจะพิสูจน์ได้ว่า ได้ผู้สอนได้บอกได้เตือนแล้วแต่มือใหม่หัดขับไม่เชื่อฟังเอง

แล้วโทษล่ะเป็นอย่างไร ในกรณีที่ 1. ฝึกหัดไม่มีผู้สอนควบคุม 2. มีผู้สอนอยู่ในรถยนต์คอยควบคุมดูแลก็จริง แต่ว่า ผู้สอนหรือผู้ฝึกมีใบขับขี่ไม่ถึง 3 ปี ...ในเรื่องนี้มาตรา 60 ข้างต้นกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกิน 2,000 บาท


กรณีชนแล้วหนี

ในกรณีขับรถชนแล้วหนีมีความผิดฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที ซึ่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้ใน มาตรา 78 ดังนี้คือ

มาตรา 78 ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ ในทางซึ่งก่อให้เกิดความ เสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความ ช่วยเหลือตามสมควรและพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลข ทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย


ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หลบหนี้ไป หรือไม่แสดงตัว ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำ ความผิดและให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนี้ หรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ถ้าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกเดือนนับแต่ วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ


แล้วกฎหมายกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ขับรถชนแล้วหนีว่าอย่างไร

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีการกำหนดโทษไว้ว่า

มาตรา 160 "ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ติดตั้ง แอพพลิเคชั่น บนมือถือ

🌈👉ติดตั้ง แอปพลิเคชัน👈🌈

💖⚖️“ (ทนายความประชาชน) ”⚖️💖

https://play.google.com/store/apps/

X
ติดตั้ง แอพพลิเคชั่น บนมือถือ